พูดคุยกับแพทย์อย่างเป็นส่วนตัว ผ่านแอพ Chiiwii

'ตับอ่อนเทียม' นวัตกรรมใหม่ในการรักษาเบาหวานชนิดที่ 1

ข่าวประกาศใหม่ จากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA)

The U.S. Food and Drug Administration ให้การยอมรับ Medtronic 's MiniMed 670G hybrid closed looped system ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 14 ปี

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีแอนติบอดี้ต่อตับอ่อนหรืออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลิน เพื่อนำมาใช้ในการลดน้ำตาลในเลือดได้ การรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินทดแทน วันละ 2-4 ครั้ง รวมถึงยังต้องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วเป็นระยะๆ เพื่อเช็คระดับน้ำตาลในการคำนวณปริมาณอินซูลินที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน

หากถามความรู้สึกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 คงได้รับคำตอบถึงความไม่สะดวกมากมาย เช่น

  • บางรายอาจบอกว่า เจ็บตัวบ่อย ต้องฉีดอินซุลินวันละ 2-4 ครั้งทุกวัน ตลอดชีวิต
  • บางรายอาจคิดว่า นิ้วพรุน เพราะเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว เพื่อเช็คน้ำตาลในเลือดว่าสูงหรือต่ำไปหรือไม่
  • บางรายบอกว่า สิ่งที่กลัวมากคือ อาการน้ำตาลต่ำเวลานอนตอนกลางคืน เนื่องจากคล้ายฝันร้าย เหงื่อออก ใจสั่น ต้องรีบตื่นกลางดึกมาดื่มน้ำหวาน เพื่อแก้ไขภาวะนี้

Medtronic 's MiniMed 670G อาจเรียกว่าเป็น "artificial pancreas" หรือ "ตับอ่อนเทียม" สามารถรักษาและแก้ไขปัญหาที่รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานทดแทนการทำงานของตับอ่อน ในการผลิตอินซูลินได้เสมือนตับอ่อนจริง โดยมีส่วนประกอบหลักๆ 2 ส่วน ทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเสียบอุปกรณ์เข้าไปใต้ผิวหนัง บริเวณหน้าท้องของผู้ป่วย ได้แก่

  1. อุปกรณ์จ่ายอินซูลิน เป็นเครื่องปล่อยอินซูลินผ่านท่อเล็กๆ เข้าสู่บริเวณใต้ผิวหนังของผู้ป่วย โดยอุปกรณ์จ่ายอินซูลินทำหน้าที่ปล่อยอินซูลินอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง  ทั้งในเวลาที่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหาร (Basal insulin) รวมถึง ผู้ป่วยสามารถปรับเพิ่มอินซูลินได้เอง เมื่อรับประทานอาหารในเเต่ละมื้อ (Bolus insulin)
  2. เซ็นเซอร์ตรวจเช็คระดับน้ำตาลใต้ผิวหนังต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ได้นานถึง 7 วัน (continuous glucose monitoring) ซึ่งสามารถเช็คระดับน้ำตาลใต้ผิวหนังได้ทุกๆ 5 นาที และส่งสัญญาณบอกอุปกรณ์จ่ายอินซูลิน ให้ตัวจ่ายอินซูลินปล่อยอินซูลินออกมาอย่างเหมาะสม และปรับเพิ่ม/ลดปริมาณอินซูลินได้เองอย่างอัตโนมัติ หากเซ็นเซอร์พบว่าผู้ป่วยเริ่มมีระดับน้ำตาลต่ำ เซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณบอกตัวจ่ายอินซูลิน ให้ลดการปล่อยอินซูลินลง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ

อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยยังคงต้องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว วันละ 1-2 ครั้งเพื่อปรับผลให้สอดคล้องกับเซ็นเซอร์ และ เครื่องนี้ยังไม่สามารถใช้ได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี หรือ รายที่ใช้อินซูลินน้อยกว่า 6 ยูนิตต่อวัน

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่แปะเครื่อง น้ำตาลสูงหรือต่ำ (จากการศึกษา ไม่พบว่าผู้ป่วยที่ทดลองใช้ มีระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำวิกฤติ) นอกจากนี้

ขอยกย่องให้ผู้ผลิตและคิดค้นเจ้าเครื่องตับอ่อนเทียมนี้ จากประเทศ Ireland มากๆ เลยค่ะ หวังแต่ว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ของประเทศไทยจะมีโอกาสได้ใช้บ้าง หากราคาไม่แพงจนเกินไปนัก

30 กันยายน 2559
 
Credit:

***หากคุณมีข้อสงสัยหรือปัญหาสุขภาพ สามารถสอบถามคุณหมอเพิ่มเติมได้ง่ายๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ คลิกที่นี่ เพื่อ log in แล้วพิมพ์คำถามของคุณ หลังจากนั้นรอรับคำตอบทาง email โดยเราจะมีทีมแพทย์เฉพาะทางที่ตรงกับปัญหาของคุณมากที่สุด เพื่อตอบคำถามนั้นๆ 


Loading ...
Success