พูดคุยกับแพทย์อย่างเป็นส่วนตัว ผ่านแอพ Chiiwii

ยาพาราเซตามอล แก้ปวดลดไข้ ยาง่ายๆ ที่ทุกคนคุ้นเคย

 

พาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวดลดไข้ ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย จนเรามักมองข้ามความปลอดภัยของการใช้ยาดังกล่าวไป หลายคนคิดว่ายาแก้ปวดธรรมดา กินเกินก็ไม่เป็นไร ก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น แท้จริงแล้วอาการข้างเคียงที่อาจเกิดได้จากรับประทานยาพาราเซตามอล ได้แก่ อาการแสดงน้อยๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแพ้ หรือเกิดอาการที่ไต ทำให้เกิดท่อไตอักเสบอย่างรุนแรงเฉียบพลัน  ส่วนอาการที่เกิดไม่บ่อยแต่รุนแรง เช่น เกร็ดเลือดลดต่ำลง หรือเกิดตับวาย ซึ่งอาจเกิดได้จากการรับประทานยาเกินขนาด
ยาที่รับประทานในปริมาณที่สูงเกินไปนั้น
ทำให้เกิดสารที่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ได้ ซึ่งได้แก่ N-Acetyl-p-Benzoquinoneimine (NAPQI) หากสารนี้มีในปริมาณที่ไม่มาก ร่างกายก็จะมีกระบวนการในการกำจัดออกทางปัสสาวะ แต่ถ้ามีมากเกินไป ร่างกายก็จะไม่สามารถกำจัด NAPQI ออกได้ สาร NAPQI ก็จะไปจับกับเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส หรือส่วนประกอบอื่นๆ ในเซลล์ได้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ อันเป็นสาเหตุของการเกิดความเสียหายของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ได้ อาจรุนแรงจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตจากภาวะตับวาย

อย่างไรก็ดีพาราเซตามอลเป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่ราคาไม่แพง ที่ใช้กันมานานมากกว่า 50 ปี และใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันในการลดไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว และลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างโทษและประโยชน์ของยาพาราเซตามอลแล้วยานี้ก็ยังมีประโยชน์อยู่

คำแนะนำการใช้ยาพาราเซตามอล มีดังนี้ ควรใช้ยาเมื่อมีอาการเท่านั้น ใช้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น และใช้ขนาดยาต่ำที่สุดที่มีคำแนะนำอยู่ในฉลากยา หรือตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

ข้อควรระวัง หากท่านมีโรคประจำตัวอยู่ เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆ หากต้องใช้ยาหลายวัน อาจพิจารณาหายาทางเลือกอื่นแทน

ต้องการปรึกษายาทางเลือกที่เหมาะสมเฉพาะราย สามารถสอบถามมาที่ Chiiwii ได้ค่ะ

โดย ภก.ศิริรัตน์ ธำรงธีระกุล

References:

  • Paracetamol Toxicity, ภก.ทรงพล ศรีนวล, วารสารนิติเวชศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1, มกราคม-มิถุนายน 2557                               
  • BBC NEWS | Health | Painkillers: cause kidney damage
  • Paracetamol in new health ALERT: Doctors warned over prescribing daily painkiller,Giles Sheldrick, Apr 1, 2015

 

***หากคุณมีข้อสงสัยหรือปัญหาสุขภาพ สามารถสอบถามคุณหมอเพิ่มเติมได้ง่ายๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ คลิกที่นี่ เพื่อ log in แล้วพิมพ์คำถามของคุณ หลังจากนั้นรอรับคำตอบทาง email โดยเราจะมีทีมแพทย์เฉพาะทางที่ตรงกับปัญหาของคุณมากที่สุด เพื่อตอบคำถามนั้นๆ 


Loading ...
Success