พูดคุยกับแพทย์อย่างเป็นส่วนตัว ผ่านแอพ Chiiwii

ห้องถาม - ตอบ

สุขภาพเด็ก

  • Q ลูกทานข้าวน้อยมาก

    26-11-2017 04:50:04

    ทานนมสำเร็จมากครับ พยายามให้ทานข้าวก็ไม่ยอม จะกินนม ไม่ให้ก็ร้อง อายุ 3 ปี 10 เดือนแล้วคับ แต่ตอนไป. รร.เตรียมอนุบาลน้องก็ทานได้ครับ จากการสอบถามคุณครู


    13-12-2017 08:00:28

    สวัสดีครับคุณพ่อ การทานข้าวน้อยในเด็กส่วนใหญ่เป็นปัญหาพฤติกรรมเป็นหลักครับ เพราะเด็กตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไปจะมีพฤติกรรมลองผิดลองถูก อยากรู้ว่าอะไรทำได้ ทำไม่ได้ อยากรู้ว่าพ่อแม่จะจัดการกับเขายังไง ซึ่งเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องคอยแนะนำ สอนว่าสิ่งที่ทำได้และทำไม่ได้ครับ

    การทานข้าวถือเป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้การเอาใจใส่เป็นพิเศษ อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่าเด็กอายุ 2-3 ปี อัตราการเจริญเติบโตไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักหรือส่วนสูงจะน้อยกว่าในช่วงขวบปีแรก ประกอบกับในช่วงอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีสิ่งที่น่าสนใจกว่าการกินข้าวตั้งเยอะ ทำให้พฤติกรรมการกินยาก การเลือกทานจึงสามารถเจอได้อยู่แล้วครับ สำหรับหลักการปรัยพฤติกรรมการทานยากมีดังนี้ครับ

    1.  หากพ่อแม่เช็คตามกราฟน้ำหนักและส่วนสูง (ซึ่งจะมีในสมุดบันทึกวัคซีนของลูก) แล้วยังอยู่ในช่วงปกติ  ให้เตือนตนเองเสมอว่าอาหารที่ลูกได้อยู่ปัจจุบันนี้เพียงพอแล้ว  ไม่ว่าจะมีญาติผู้ใหญ่หรือคนอื่นทักก็ตาม   เนื่องจากปัจจุบันมีเด็กอ้วนในสังคมไทยจำนวนมากสูงถึง 15-20% ซึ่งเด็กที่น้ำหนักเกินจะมีส่วนสูงมากกว่าวัยด้วย (แต่ก็จะหยุดสูงเร็วด้วย) ทำให้เด็กในวัยเดียวกันที่น้ำหนัก ส่วนสูงปกติ ถูกเปรียบเทียบแล้วรู้สึกว่าเป็นเด็กผอมหรือตัวเล็กไป
    2.  ไม่ใช้วิธีผิดๆ เพื่อให้เด็กกินมากขึ้น เช่น การตี ดุว่า บังคับ ใช้อารมณ์กับลูกหรือการตามใจ ต่อรอง หรือให้รางวัลเกินความจำเป็น
    3.  ให้เด็กรู้สึกหิวก่อนถึงมื้ออาหารโดยงดอาหารหรือขนมจุกจิกระหว่างมื้อ  ไม่ว่าจะเป็นขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน  ไอศกรีม  ลูกอม ฯลฯ หากจะให้  ควรให้หลังอาหารหากเด็กกินได้เหมาะสม
    4.  ไม่ให้นมมากเกินไป เพราะเมื่อเด็กอายุเกิน ปี ควรกินข้าวเป็นอาหารหลักวันละ มื้อ ส่วนนมจะเป็นอาหารเสริมเท่านั้น จึงต้องลดปริมาณลงเหลือวันละ 3 - 4 มื้อ และควรให้นมหลังอาหารเท่านั้น   เด็กอายุมากกว่า เดือน  ร่างกายไม่ต้องการนมหลังจากหลับไปแล้วจนถึงเช้า  จึงไม่ควรปลุกเด็กขึ้นมากินนม  เพราะเด็กวัยนี้สามารถกินนมก่อนนอนแล้วอยู่ได้ถึงเช้า  หากให้กินกลางดึกจะกลายเป็นความเคยชินและทำให้เด็กเบื่ออาหารเช้าเพราะยังอิ่มนม  หลังอายุ ปี ควรเลิกขวดนม ดังนั้นจึงให้เด็กเริ่มฝึกดูดจากหลอดหรือดื่มจากแก้วแทนตั้งแต่อายุ 10 เดือน
    5.  ฝึกให้กินอาหารเป็นเวลาสม่ำเสมอและควรกินพร้อม ๆ กันทั้งครอบครัวเพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างบรรยากาศการกินอาหารให้เด็ก
    6.  ขณะมื้ออาหารไม่ดูทีวีหรือเล่นของเล่นไปด้วย เพราจะทำให้เด็กไม่สนใจเรื่องกิน  ทำให้กินช้า อมข้าวและอิ่มเร็วโดยที่ยังกินได้น้อย
    7.  ให้นั่งกินอาหารบนเก้าอี้จนเสร็จจึงจะให้ลง ไม่เดินตามป้อน
    8.  ทำบรรยากาศขณะมื้ออาหารให้ผ่อนคลาย พูดคุยกันเรื่องอาหารหรือเรื่องเบาๆ ไม่ควรใช้เป็นเวลาที่จะมาต่อว่า ดุด่าว่ากล่าวกัน
    9.  เปิดโอกาสให้เด็กช่วยเหลือตัวเองเรื่องการกินให้มากที่สุดตามวัยโดยค่อยๆลดการให้ความช่วยเหลือลงตามลำดับ ในเด็กต่ำกว่า 3  ขวบให้เด็กมีโอกาสถือหรือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองบ้างแม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ต้องยอม เด็กวัย 4  ขวบส่วนใหญ่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องป้อนเพียงแต่ให้ความช่วยเหลือบางส่วน
    10.  สังเกตชนิดและลักษณะอาหารที่เด็กชอบ ปรุงรสชาติให้ถูกปากเพราะเด็กสามารถแยกแยะรสชาติได้ตั้งแต่อายุไม่กี่สัปดาห์
    11.  กำหนดระยะเวลามื้ออาหารประมาณ 30 - 45 นาที เมื่อถึงเวลาที่กำหนดให้เก็บจานแม้ว่าจะยังกินไม่หมดหรือกินได้น้อยก็ตามโดยไม่ต้องแสดงความวิตกกังวลหรือโกรธ แต่ให้งดของหวาน  ขนม หรืออาหารว่างต่างๆ ทั้งหมดก่อนจะถึงมื้อถัดไปเพื่อให้เด็กเกิดความหิวซึ่งจะกระตุ้นให้เจริญอาหารและรับผิดชอบเรื่องการกินว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคลได้ดีขึ้น

Loading ...
Success