พูดคุยกับแพทย์อย่างเป็นส่วนตัว ผ่านแอพ Chiiwii

ห้องถาม - ตอบ

สุขภาพจิต

  • Q ยารักษาโรควิตกกังวล

    13-03-2017 18:55:30

    สวัสดีครับ ผมเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวล มาเกือบห้าปีแล้ว เมื่อ 4-5 ปีก่อนรักษาโดยการพบจิตแพทย์และทานยาไม่นาน อาการก็หายหายไป แต่ยังมีวิตกกังวลอยู่บ้าง โดยมักจะคิดว่าตัวเองเจ็บป่วยและมักตีความอาการต่างๆในร่างกายเป็นการเจ็บป่วยรุนแรง จนเมื่อเดือนสองเดือนที่ผ่านมาเริ่มมีอาการวิตกกังวลในลักษณะเดิมอีก เข้าออกโรงพยาบาลเดือนละหลายครั้งเพื่อตรวจร่างกายกับระบบต่างๆทั้งทางเดินอาหาร(เป็นกรดไหลย้อนเนื่องจากทำงานกินนอนไม่เป็นเวลา ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนแล้วมีพบกระเพาะอาการระคายเคือง) ตรวจโลหิตจาง ตรวจไทรอยด์ และตรวจร่างกายทั่วๆไป ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่บอกมาหมอก็ไม่ได้ให้ทำหรือตรวจอะไรต่อ จนล่าสุดหนึ่งเดือนที่ผ่านมามีอาการกังวลกลัวเป็นโรคต่างๆอีก คราวนี้อาการทางกายที่เป็นอยู่แล้วคือกรดในกระเพาะอาหารและลำไส้โครกครากกลับมา พร้อมกับอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้นกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด หนาวๆร้อนๆ หงุดหงิดง่าย แต่ก็ยังคงกิจวัตรได้แต่ไม่สุขใจเหมือนเคยอยากอยู่นิ่งๆไม่อยากทำอะไร ทางจิตแพทย์ได้ให้ยา Valdoxan มาทานซึ่งทานไปเกือบอาทิตย์ด้านอารมณ์ดีขึ้นมาเป็นลำดับแต่อาการทางกายยังมีบ้าง แต่จากข้อมูลเกี่ยวกับยาตัวนี้มีน้อยมาก ทราบแต่ว่ามีผลต่อตับพอสมควรเลยเกิดความกังวลขึ้นอีก และเริ่มไม่อยากทานยา จึงรบกวนถามว่า 1 เรื่องผลกระทบเกี่ยวกับตับกับยาตัวนี้(Valdoxon) หรือผลกระทบอื่นๆมีมากมั้ยครับ 2 จำเป็นต้องใช้ยานานมั้ยครับ 3 จำเป็นต้องตรวจอาการทางกายใดใด เพิ่มอีกมั้ยครับ 4 ลักษณะอาการดังกล่าวถ้าไม่รักษาด้วยยา จะใช้วิธีอื่นอีกได้มั้ยครับและใช้เวลารักษามากรึเปล่าครับ 5 อาการหัวใจเต้นแรง ควร และ สามารถใช้ยาควบคุมได้หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ


    15-03-2017 14:14:27

    1. Valdoxan (Agomelatine) เป็นยาต้านเศร้าที่ออกฤทธิ์ ต่อสารสื่อสารประสาทในสมอง เช่น เมลาโทนิน ซีโรโทนิน จึง ช่วยด้านอารมณ์ และให้ผลดีกับเรื่องการนอน ของผู้ป่วย ผลข้างเคียงที่อาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ พบได้น้อยมาก คือ 0.01-0.1% หรือ 1 ใน 1000-10000 คน ที่ใช้ยานี้ 

    2.ในการรักษาโรควิตกกังวล โดยทั่วไปแนะนำให้รักษาต่อเนื่องนานอย่างน้อย 6 เดือน - 1 ปี ค่ะ เพื่อป้องกันการกลับมาเกิดอาการซ้ำของโรค

    3.จากที่คุณตรวจมา ก็ดูครอบคลุม ปัญหาที่คิดถึง ณ ขณะนี้ และถ้าพบความพบผิดปกติจากการตรวจร่างกาย หรือ พบความผิดปกติจากการตรวจเบื้อต้น โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้ตรวจอื่นเพิ่มเติมอยู่แล้วค่ะ

    4.การรักษาอื่นๆ ที่มีงานวิจัยในการรักษาโรคในกลุ่ม วิตกกังวล เช่น การใช้จิตบำบัด เช่น CBT (cognitive behavior therapy) เป็นการบำบัดที่ใช้เวลาสั้น คือ พบแพทย์ประมาณ 8-12 ครั้ง (ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ ความร่วมมือของผู้ป่วยด้วย)

    5.อาการหัวใจเต้นแรง สามารถให้ยาอื่นๆช่วยควบคุมอาการได้ค่ะ เช่น ยาในกลุ่ม B blocker

    ทั้งนี้ ในโรควิตกกังวล มักเกิดจากความคิด เรื่องความไม่มั่นใจ ทำให้ยิ่ง กลัว กังวล จนเกิดอาการทางกายหลายอย่าง เช่น ใจสั่น รวมถึงโรคต่างๆที่เป็นผลจากความเครียด เช่น กรดไหลย้อน ลำไส้แปรปรวน และความกังวลนี้เอง นำเองซึ่งพฤติกรรม ที่ต้องการการยืนยันเพื่อช่วยลดความกังวล เช่น การไปตรวจซ้ำๆ หลายๆ ที่ การถามคนอื่นเพื่อช่วยยืนยัน จะได้ลดความกังวล แต่ยิ่งถาม ความกังวลกลับคงอยู่

    คำแนะนำเบื้องต้น 

    1. ลดพฤติกรรมการถามซ้ำ ตรวจซ้ำ เพราะจะยิ่งทำให้ ความกังวลของคุณไม่หาย และจะเป็นมากขึ้น

    2. ฝึกการผ่อนคลาย เช่นการหายใจ ช้าๆ

    3. เปลี่ยนความคิด โดยการหาหลักฐานมาช่วยขัดแย้งความคิดที่ทำให้กังวล เช่น ถ้าเราป่วยมากจริง หมอคงต้องรักษาแล้ว อันนี้แปลว่าเราไม่ได้เป็นอะไร แต่เป็นความกังวล

    โรควิตกกังวล ดีขึ้นได้ด้วยการ ลดความคิดที่ทำให้กังวลนะคะ 


    17-03-2017 04:36:58

    ขอบพระคุณครับผม

Loading ...
Success